เป้าหมายรายสัปดาห์
: นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ช่วยทุ่นแรงในชีวิตประจำวันได้
week
|
input
|
process
|
Output
|
Outcome
|
8
15 – 19 ธ.ค.
2557
|
โจทย์ : สร้างนวัตกรรมที่ช่วยทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
Key Questions :
- นักเรียนจะมีขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันอย่างไรเพราะเหตุใด
- เมื่อเกิดปัญหาขึ้นขณะปฏิบัติงาน
นักเรียนจะทำอย่างไรเพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Robin :ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนแผนที่วางไว้
Show and Share : นำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- วัสดุอื่นๆที่นักเรียนจะใช้สร้างสิ่งประดิษฐ์
|
วันจันทร์
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนแผนการทำเครื่องทุ่นแรงที่วางไว้ผ่านเครื่องมือคิด(Round
Robin)
ใช้
นักเรียนดำเนินการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันตามที่ออกแบบไว้
วันอังคาร
ใช้
นักเรียนดำเนินการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันตามที่ออกแบบไว้(ต่อจากเมือวาน)
วันพุธ
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันผ่านเครื่องมือคิด
( Show and Share)
ใช้
ทดสอบการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น
วันศุกร์
ชง
- ครูและนักเรียนสนทนาว่าสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมีส่วนใดบ้างที่ต้องแก้ไขผ่านเครื่องมือคิด
(Round
Robin)
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำสิ่งประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง/ปัญหาอุปสรรคที่พบเจอขณะทำงานมีอะไรบ้างและนักเรียนแก้ปัญหาอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนจากคำถามในขั้นชง
ใช้
นักเรียนแก้ไขซ่อมแซมสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแล้วนำเสนอครูและเพื่อนฟังผ่านเครื่องมือคิด
( Show and Share)
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
2.
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
มีอะไรบ้าง
3.
นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.
นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.
นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.
นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( Mind
Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ชิ้นงาน
- สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
|
ความรู้
-
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง
ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
-
เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์
สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช่ในชีวิตประจำวันได้
- สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันที่ใช้ได้จริง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้อุปกรณ์ในการทำงาน เช่น มีด กรรไกร ฯลฯ
- สร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี,
กระดาษ, น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว
ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารระหว่างการทำกิจกรรมระหว่างเพื่อนในกลุ่มได้อย่างเคารพซึ่งกันและกันได้
คุณลักษณะ
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้ลงมือประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงที่ออกแบบไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์ ขณะลงมือทำหลานคนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหลายอย่างเช่นพี่ทัศน์ ได้เรียนรู้การเย็บพรมเช็ดเท้าโดยใช้กิบดำ พี่ฝ้ายได้ลงมือเย็บกระเป๋าด้วยตัวเองและบางคนที่ออกแบบไว้แล้วไม่สามารถทำตามแบบได้ก็ออกแบบสิ่งใหม่ที่จะทำ พี่กล์อฟออกแบบไว้จะทำกระปุกออมสินแต่ปรากฎว่าผ่าไม้ไผ่แล้วแตกก็เลยแก้ไขโดยการทำเป็นช้อนชงกาแฟแทน ส่วนพี่แบงค์ทำช้อนไม่ได้เพราะมีขนาดเล็กเหลาให้เรียบได้ยากจึงทำเป็นทับพีแทน และในวันศุกร์พี่ๆได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่แปดในรูปแบบของ infographic จากที่ได้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์
ตอบลบ