ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

week 7



เป้าหมายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถออกแบบนวัตกรรมที่ช่วยทุ่นในชีวิตประจำวันได้

week
input
process
Output
Outcome
7
8 – 12 ธ.ค.
2557
โจทย์ : ออกแบบนวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
Key Questions :
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันอย่างไร
Round Robin  :สนทนาว่าเครื่องทุนแรงที่รู้จักมีอะไรบ้างและถ้าจะต้องคิดค้นขึ้นใหม่จะทำอย่างไรเพราะเหตุใด
Wall Thinking : ชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
Show and share : นำเสนอชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A3,A4
- อุปกรณ์ที่จะนำมาประดิษฐ์ เช่น ผ้า,ไม้,กล่อง,ขวดน้ำ เป็นต้น

วันจันทร์
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาว่าเครื่องทุนแรงที่รู้จักมีอะไรบ้างและถ้าจะต้องคิดค้นขึ้นใหม่จะทำอย่างไรเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด(Round Robin)
เชื่อม
นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คนระดมความคิดออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันผ่านเครื่องมือคิด
( Brain Strom)
ใช้
 นักเรียนออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันคร่าวๆเพื่อนำเสนอครูและเพื่อนช่วยปรับปรุงแก้ไขผ่านเครื่องมือคิด( Show and Share)
วันอังคาร
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอแบบร่างสิงประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงให้ครูและเพื่อนฟังผ่านเครื่องมือคิด( Show and Share)
ใช้
- นักเรียนทำชาร์ตการออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันอย่างละเอียดลงในกระดาษ 100 ปอนด์
วันพุธ
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอชาร์ตการออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันให้ครูและเพื่อนฟังผ่านเครื่องมือคิด( Show and Share) (สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
วันศุกร์
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนว่าแต่ละคนต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้างผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนจัดแบ่งหน้าที่และเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้ปฏิบัติจริงในอาทิตย์ต่อไป
ใช้
- นักเรียนทำชาร์ตการออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันอย่างละเอียดลงในกระดาษ 100 ปอนด์(ต่อ)
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.               นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
2.               ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
3.               นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.               นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.               นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.               นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)

ชิ้นงาน
- การออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในการประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช่ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
 ทักษะชีวิต
- เห็สความสำคัญของเครื่องทุ่นแรงในชีวิตประจำวันและออกแบบเองได้
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ, น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว
ทักษะการคิด
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ทักษะ ICT
-  หาข้อมูลเกี่ยวกับการประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
 ทักษะการสื่อสาร
-พูดนำเสนอนำเสนอชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
คุณลักษณะ
- คิดวางแผนและเตรียมอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น





















1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2557 เวลา 05:08

    บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้พี่ป.5ได้ออกแบบเครื่องทุ่นแรงที่จะสร้างด้วยตัวเองที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยเริ่มจากการร่างใส่กระดาษ A4 ว่าจะทำเครื่องทุ่นแรงประเภทไหนสิ่งที่จะประดิษฐ์เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอย่างไร
    วันอังคาร พี่นำเสนอชิ้นงานฉบับร่างของตนเองเพื่อให้ครูและเพื่อนช่วยเพิ่มเติมบางคนทำมาแล้วเพื่อนยังมองว่าไม่ใช้เครื่องทุ่งแรงก็ต้องคิดวางแผนใหม่
    วันพุธ คนที่ฉบับร่างเสร็จแล้วก็ลงมือออกแบบชิ้นงานบนกระดาษร้อยปอนด์ลงสีอย่างสวยงาม
    วันศุกร์คนไหนงานเอกสารเสร็จเรียนร้อยแล้วก็ลงมือประดิษฐ์ไดเลยแต่คนที่ยังไม่เสร็จก็ต้องทำงานเอกสารก่อน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนสะท้อนกันกับสิ่งที่เรียนมาทั้งสัปดาห์แล้วทุกคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิที่ต้องการ

    ตอบลบ