เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องแรงลมและแรงลอยตัวและสามารถออกแบบว่าวให้มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุดได้
week
|
input
|
process
|
Output
|
Outcome
|
6
1 – 5 ธ.ค.
2557
|
โจทย์ : การทำว่าว
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบว่าวอย่างไรให้มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุด
-
ทำไมต้องใช้ไม้ไผ่ในการทำโครงว่าวใช้วัสดุอื่นได้หรือไม่เพราะเหตุใด
-
ทำไมว่าวจึงลอยอยู่บนท้องฟ้าได้เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด
:
Round
Robin : สนทนาถึงว่าวชนิดต่างๆ
Mind Mapping : ชนิดของว่าว
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
-ไม่ไผ่
-กาว
-เชือก
- ข้าวเหนียว
- ยางมะตูม
- ร่มไผ่
- วิทยากร (ครูวุฒิ)
|
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นคิด
นักเรียนคดว่าว่าวที่ลอยบนท้องฟ้ามีความเป็นมาอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาถึงว่าวชนิดต่างๆว่ามีอะไรบ้างและแต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด
(Round Robin)
ใช้
นักเรียนสรุปว่าว่าวมีกี่ประเภทอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด
( Mind
Mapping)
วันอังคาร
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
-ถ้าไม่ใช้ไม่ไผ่ในการทำโครงของว่านักเรียนจะใช้อะไรแทนเพราะเหตุใด
-
ทำไมว่าวจึงลอยอยู่บนท้องฟ้าได้เพราะเหตุใด
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนผ่านคำถามในขั้นชงเกี่ยวกับการทำว่าวและอุปกรณ์
ใช้
นักเรียนทำชาร์ตออกแบบการทำว่าวที่มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุด
วันพุธ
ชง
วิทยากร(ครูวุฒิ)
เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับว่าวตัวแรกที่เล่นให้นักเรียนฟัง ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
นักเรียนรู้จักว่าวอะไรบ้างแต่ละประเภทเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับว่าวที่รู้จักและวิธีการทำว่าวแต่ละประเภท
ใช้
นักเรียนลงมือประดิษฐ์ว่าวของตนเอง
วันศุกร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
ถ้าว่าวที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นไม่ลอยนักเรียนจำทำอย่างไรเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด
(Round Robin)
ใช้
นักเรียนทดสอบการลอยของว่าว
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
2.
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
มีอะไรบ้าง
3.
นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.
นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.
นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.
นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ชิ้นงาน
- Mind Mapping ชนิดของว่าว
- ชาร์ตการออกแบบการทำว่าว
- ว่าวที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ศึกษาข้อมูลที่ทำให้ว่าวลอยอยู่ได้บนท้องฟ้า
- ศึกษาข้อมูลชนิดของว่าว
- คิดค้นว่าวรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ทำว่าวของตนเอง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
|
ความรู้
-
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง
ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
-
นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องแรงลมและแรงลอยตัวและสามารถออกแบบว่าวให้มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุดได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ ไม้ไผ่ ยาง มะตูม ข้าวเหนียวและ ทรัพยากรณ์ที่มีในท้องถิ่นในการประดิษฐ์ว่าวได้
- ดูแลรักษาอุปกรณ์ที่นำมา
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอว่าวที่ออกแบบมีอะไรที่แสดงถึงความเป็นตนเองบ้าง
ทักษะการคิด
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบว่าวที่แสดงความเป็นตนเอง
- คิดวางแผนและเตรียมอุปกรณ์ในการทำว่าว
คุณลักษณะ
- รับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์ทำว่าว
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบในสัปดาห์นี้เนื่องจากตรงกับ งานธนูว่าวในเงาจันทร์ของโรงเรียนพี่ๆป.5 จึงได้เรียนรู้การทำว่าวด้วยตัวเอง
วันจันทร์ ครูและพี่ๆสนทนาว่าเครื่องบินลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไรบางคนบอกเพรามันมีปีกบางคนบอกมีเครื่องยนต์ ครูจึงถามว่าแล้วว่าวหละค่ะไม่มีทั้งปีกและเครื่องยนต์ว่าวสามารถลอยได้อย่างไร บางคนเริ่มสงสัยว่าใช่แล้วมันลอยได้ยังไงหละ (ส่วนใหญ่เป็นพี่ผู้หญิง) คุณครูจึงให้โจทย์ว่าให้แต่ละคนออกแบบว่าวที่มีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและไม่ให้ใช้กาวสังเคราะห์ให้ใช้กาวที่มาจากธรรมชาติ
วันอังคาร พี่ๆป.5 ได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้การทำว่าวที่ถูกต้องจากคุณครูวุติ โดยที่คุณครูวุฒิได้เล่าเรื่องราวประวัติของว่าชนิดต่าง และไม้ไผ่ชนิดต่างๆที่ใช้ทำว่าวได้ จากนั้นทุกคนลงมือทำว่าของตนเองโดยมีคุณครูคอนแนะนำ
วันพุธ ทอดสอบวิ่งว่าวมีทั้งขึ้นบางไม่ขึ้นบางวิ่งไปติดต้นไม้ได้ซ้อมแซมก็มี
วันศุกร์ ทุกคนสรุปผลการทดลองและสรุปการเรียนรู้ราสัปดาห์ที่หกในรูปแบบของ Mind Mapping