ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping เนื้อหาครู

Big Questions : 
1. นักเรียนจะเอาชนะแรงดึงดูดและแรงเสียดทานได้อย่างไร
2. นักเรียนจะสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันได้อย่างไรเพราะเหตุใด
ภูมิหลังของปัญหา


แรงและการเคลื่อนที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เซอร์ไอแซกนิวตัน ค้นพบว่า การที่คนเรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ลอยขึ้นบนท้องฟ้า เพราะมีแรงดึงดูดของโลก ต่อมามีการศึกษาค้นคว้าและอาศัยเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ในการสร้างสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่างๆเช่น รถยนต์ กรรไกร ลูกบิด รถเข็น ในงานอุตสาหกรรมต่างๆเป็นต้น จะเห็นว่าแรงและการเคลื่อนที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก
ในสังคมที่รีบเร่งสิ่งอำนวยความสะดวกจึงมีความจำเป็น เพื่อใช้ตอบสนองในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ส่งผลทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงงาน ค่าใช่จ่ายสูง อีกทั้งยังส่งผลต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นชั้น ป.5 จึงสนใจที่จะเรียนรู้ PBLหน่วย ของเล่น ของใช้ทุ่นแรง ในQuarter3 ปีการศึกษา 2557
ตารางวิเคราะห์และมาตรฐานตัวชี้วัด

 ปฎิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์

 


ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2557
week
input
process
Output
Outcome
1
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียน รู้จักเครื่องทุ่นแรงใดบ้างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนจะออกแบบสิงประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุดอย่างไรเพราะเหตุใด
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำและ บรรจุลูกแก้วได้เยอะที่สุด เพราะเหตุใด
นักเรียนจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยนี้ว่าอะไรให้น่าสนใจ เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Brain Strom : ระดมความคิดวางแผนการเคลื่อนย้ายทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
Walk and Talk : เครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
Mind Mapping : ประเภทของเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
Think Pair Share ,Blackboard Share :  ตั้งชื่อหน่วย
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-   เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- เชือก
-กระสอบทราย
-ดินน้ำมัน
-ลูกแก้ว
-กระดาษ
- ถังน้ำ

กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
-   ครูและนักเรียนพูดคุยสิ่งที่นักเรียนทำในช่วงปิดเรียน
ครูและนักเรียนร่วมสร้างแรงบันดานใจผ่านการเล่น
-นักเรียนแบ่งทีมเล่นชักเย่อ
-นักเรียนจะทำอย่างไรให้กระดาษสามารถลอยอยู่ในอากาศได้
-นักเรียนทำการทดลองดินน้ำมันลอยน้ำโดยจะต้องให้ดินน้ำมันลอยน้ำและ บรรจุลูกแก้วได้เยอะที่สุด
- นักเรียนเดินสำรวจรอบบริเวณโรงเรียนว่ามีเครื่องทุ่นแรงใดบ้าง
- ครูและนักเรียนสนทนาว่า พบเครื่องทุ่นแรงประเภทใดบ้างภายในโรงเรียน
- นักเรียนสรุปประเภทของเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียนผ่าน Mind Mapping
-  ตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share, Blackboard Share
-นักเรียนทำกิจกรรมดินน้ำมันลอยน้ำโดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่านักเรียนจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
-   นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์โดยเทคนิคการเขียนบรรยาย







ชิ้นงาน
- Mind Mapping ประเภทของเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
-  สิงประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วางแผนแบ่งทีมเพื่อเล่นชักเย่อ
- สร้างสิงประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
- วางแผนให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
- ระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ความรู้
สามารถรู้และเข้าใจว่าเครื่องทุ่นแรงอย่างง่ายมีอะไรบ้าง และสามารถมีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องแรงได้ รู้จักการใช้เครื่องทุ่นแรงให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้กำลังกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- รู้จักรักษาและเห็นคุณค่าอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนรวม
ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายถุงทรายให้ใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
- นำเสนอได้ว่า พบเครื่องทุ่นแรงประเภทใดบ้างภายในโรงเรียน
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิงประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
-   เสนอความคิดเห็นที่จะทำให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
ทักษะการคิด
-ความคิดวางแผนการเคลื่อนย้ายทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
- คิดสร้างสิงประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
-คิดวางแผนให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น

2
โจทย์ : ออแบบ/วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมใน Quarter 3
Blackboard Share สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้รายบุคคล
Wall Thinking : สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- กระดาษบรูฟ
- สี/ปากกา







กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
-  วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียนให้สอดคล้องกับหน่วย
 -  เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน  (Mind Mapping)
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
ทำปฏิทินการเรียนรู้ 9 สัปดาห์(รายบุคคล)
- แบ่งกลุ่มทำปฏิทินการเรียนรู้แผ่นใหญ่
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
-   นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์โดยเทคนิค Mind Mapping
ชิ้นงาน
-  สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
-  สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-วาดภาพตกแต่งชั้นเรียน
-  ออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping และสามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด  9 สัปดาห์ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Quarter 3ได้
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทินได้
ทักษะการคิด
  -คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น

3
โจทย์ :การเคลื่อนย้าย
Key Questions :
- เมื่อต้องเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากนักเรียนจะทำอย่างไร
- นักเรียนจะเอาชนะแรงดึงดูดของโลกได้อย่างไร เพราเหตุใด
- นักเรียนจะเอาชนะแรงเสียดทานได้อย่างไร เพราเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : สนทนาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
Brain Strom : ระดมความคิดวางแผนการเคลื่อนย้ายทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
Show and Share : นำเสนอแผนการยกถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นอาคารสองชั้นและการเคลื่อนย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาไว้หน้าเสาธง
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-  ห้องสมุด
-  อินเทอร์เน็ต
-  บรรยากาศในห้องเรียน
-  กระดาษ บรู๊ฟ
กระดาษ A4
-ถุงบรรจุทรายหนัก 50 กิโลกรัม
- รถเข็ญ
-เชือก

-ครูและนักเรียนสนทนาว่าจะทำอย่างไรเมื่อต้องยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเรา
- นักเรียนวางแผนการเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
-นักเรียนลงมือเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
-ครูและนักเรียนสนทนาว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรม ความรู้ใหม่ทีเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และนักเรียนรู้สึกอย่างไร
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- เมื่อต้องยกถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นอาคารสองชั้น นักเรียนจะทำอย่างไรให้ใช้แรงน้อยที่สุดเพราะเหตุใด
- ถ้าต้องเคลื่อนย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้ที่หน้าเสาธง นักเรียนจะทำอย่างไรให้ใช้แรงงานคนน้อยที่สุด เพราะเหตุใด
- นักเรียนออกแบบวางแผนการยกถุงทรายขึ้นอาคารและการย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาหน้าเสาธง อย่างละ 3 วิธีพร้อมนำเสนอครูและเพื่อนฟัง
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (Mind mapping)



ชิ้นงาน
-ชาร์ตความรู้แผนการเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
- ชาร์ตความรู้การวางแผนยกถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นอาคารสองชั้น
- ชาร์ตความรู้การเคลื่อนย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้ที่หน้าเสาธง
ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
-วางแผนเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
- ออกแบบวางแผนการยกถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นอาคารสองชั้นและการเคลื่อนย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาไว้หน้าเสาธง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์



ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแรงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆและรู้จักใช้เครื่องทุ่นแรงได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้กำลังกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรให้ออกแรงน้อยที่สุดในการเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ
ทักษะการสื่อสาร
- สนทนากับครูและเพื่อนด้วยวาจาที่สุภาพถูกกาละเทสะ
-พูดนำเสนอแผนการแผนการยกถุงทรายขึ้นอาคารและการย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาหน้าเสาธงได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
4
โจทย์ : เรือ
Key Questions :
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ไปข้างหน้าให้ได้เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะออกแบบวางแผน ประดิษฐ์เรือและรถขงเล่นให้เคลื่อนที่ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนสนทนาว่ารถเละเรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างไร
Blackboard Share:  ส่วนประกอบที่ทำให้รถและเรือเคลื่อนที่ได้
Show and hare : นำเสนอรถและเรือของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
-ขวดน้ำพลาสติก
- ยางรัดของ

ครูและนักเรียนสนทนาว่าการเคลื่อนที่ของรถและเรือเกิดขึ้นได้อย่างไร
-นักเรียนทำชาร์ตความรู้ออกแบบรถและเรือของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
นักเรียนทำการทดลองการเคลื่อนที่
โดยครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้รถของเล่นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ทั้งในทางเรียบและทางที่มีอุปสรรค
-นักเรียนจะออกแบบเรือของเล่นจากสิ่งของเหลือใช้อย่างไรให้ลอยน้ำและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้ออกแบบรถและเรือของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
- รถและเรือของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์( mind mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- ออกแบบรถและเรือของเล่น
-  ศึกษาค้นคว้าหาเพิ่มเติมเรื่องการเคลื่อที่ของสิ่งต่างๆ
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจถึงพื้นฐานของการเคลื่อนที่ของรถและเรือได้และเห็นความเชื่อมโยงของกิจกรรมที่ทำกับการใช้ชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
นำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์สิ่งของให้เกิดคุณค่า
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่ทำกับการใช้ชีวิตประจำวันได้

ทักษะ การคิด
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงานเช่น รถและเรือของเล่น
-  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์หลักการเคลื่อนที่ของรถและเรือ
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
5
โจทย์ : ประดิษฐ์สิ่งของให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุด
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนสร้างสิ่งของให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะทำอย่างไรไม่ให้ไขแตกเมื่อโยนไข่ขึ้นที่สูง เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าถ้าผลไม้ไม่หล่นลงพื้นจะเป็นอย่างไรเพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ร่วงหล่นลงพื้นว่าเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด
Flow Chart : สรุปผลการทดลอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- ลูกโป่ง
-ลุกบาส
-ไข่
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
-นักเรียนคิดว่าลูกบาสเก็ตบอลกับลูกโปงเมื่อตกลงจากความสูงที่เท่ากันสิ่งใดจะตกถึงพื้นก่อนเพราะเหตุใด
-ทำไมลูกโป่งสวรรค์สามารถลอยอยู่บนท้องฟ้าได้ เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าทำไมเมื่อผลไม้สุกจึงร่วงหล่นสู้พื้น ทำไมไม่ลอยขึ้นบนท้องฟ้าเพราะเหตุใด
- ทำไมเมื่อไข่ดิบตกถึงพื้นจึงแตกเพราะเหตุใดแล้วนักเรียนจะทำอย่างไรไม่ให้ไข่แตกโดยใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด
นักเรียนทำการทดลอง
-ยืนบนเก่าอี้แล้วปล่อยลุกบาสและลูกโป่งพร้อมๆกัน
-นักเรียนทดลองโยนไข่โดยใช่อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเอง
จากนั้นครุและนักเรียนสรุปผลการทดลองว่าเป็นอย่างไร เพราะสาเหตุใด
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (เขียนบรรยาย )
ชิ้นงาน
- สิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
- Flow Chart สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
ภาระงาน
- ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
- สรุปผลการทดลอง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์












ความรู้
เข้าใจถึงแรงดึงดูดของโลกที่กระทำกับสิ่งต่าง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของแต่ละศาสนาที่เกิดขึ้น
 ทักษะการสื่อสาร
- สามารถสื่อสารกับเพื่อนในการทำกิจกรรมต่างๆไดอย่างมีเหตุมีผล
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น

6
โจทย์ : ว่าว
Key Questions :
-นักเรียนจะออกแบบว่าวอย่างไรให้มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุด
- ทำไมต้องใช้ไม้ไผ่ในการทำโครงว่าวใช้วัสดุอื่นได้หรือไม่เพราะเหตุใด
- ทำไมว่าวจึงลอยอยู่บนท้องฟ้าได้เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : สนทนาถึงว่าวชนิดต่างๆ
Mind Mapping : ชนิดของว่าว
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
-ไม่ไผ่
-กาว
-เชือก
ครูและนักเรียนสนทนาถึงว่าวชนิดต่างๆว่ามีอะไรบ้างและแต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรจากนั้นสรุปเป็น Mind Mapping
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
-ถ้าไม่ใช้ไม่ไผ่ในการทำโครงของว่านักเรียนจะใช้อะไรแทนเพราะเหตุใด
- ทำไมว่าวจึงลอยอยู่บนท้องฟ้าได้เพราะตุใด
-นักเรียนทำชาร์ตออกแบบการทำว่าวที่มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุด
-นักเรียนลงมือทำว่าวของตนเอง
-ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( mind mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ชิ้นงาน
- Mind Mapping ชนิดของว่าว
- ชาร์ตการออกแบบการทำว่าว
- ว่าวที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ศึกษาข้อมูลที่ทำให้ว่าวลอยอยู่ได้บนท้องฟ้า
- ศึกษาข้อมูลชนิดของว่าว
- คิดค้นว่าวรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ทำว่าวของตนเอง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ความรู้
การทำว่าวและแรงที่ทำให้ว่าวสามารถลอยอยู่บนท้องฟ้าได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ออกแบบทำว่าวที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของว่าวของตนเอง
ทักษะการคิด
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น

7
โจทย์ : ออกแบบของใช้ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการสร้างของใช้ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันอย่างไร
Round Rubin  :สนทนาว่าเครื่องทุนแรงที่รู้จักมีอะไรบ้างและถ้าจะต้องคิดค้นขึ้นใหม่จะทำอย่างไรเพราะเหตุใด
Wall Thinking : ชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
Show and share : นำเสนอชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A3,A4

-ครูและนักเรียนสนทนาว่าเครื่องทุนแรงที่รู้จักมีอะไรบ้างและถ้าจะต้องคิดค้นขึ้นใหม่จะทำอย่างไรเพราะเหตุใด
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5-7 คนระดมความคิดออกแบบสิงประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนทำชาร์ตการออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันคร่าวๆเพื่อนำเสนอครูและเพื่อนช่วยปรับปรุงแก้ไข
- นักเรียนทำชาร์ตการออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวันอย่างละเอียด
- นักเรียนจัดแบ่งหน้าที่และอุปกรณ์
-ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
-  นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
-  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ( mind mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)


ชิ้นงาน
- การออกแบบออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในการประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ความรู้
สามารถคิดออกแบบวางแผนการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
 ทักษะชีวิต
- เห็สความสำคัญของเครื่องทุ่นแรงในชีวิตประจำวันและออกแบบเองได้
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ, น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว
ทักษะการคิด
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
 ทักษะ ICT
-  หาข้อมูลเกี่ยวกับการประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
 ทักษะการสื่อสาร
-พูดนำเสนอนำเสนอชาร์ตการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน

คุณลักษณะ
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากดูภาพอาหาร
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


8
โจทย์ : ของใช้ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
Key Questions :
-นักเรียนจะมีขั้นตอนการสร้างของใช้ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันอย่างไรเพราะเหตุใด
-เมื่อเกิดปัญหาขึ้นขณะปฏิบัติงาน นักเรียนจะทำอย่างไรเพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  :ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนแผนที่วางไว้
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- วัสดุอื่นๆที่นักเรียนจะใช้สร้างสิ่งประดิษฐ์




- ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนแผนที่วางไว้
- นักเรียนดำเนินการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
- นำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
-ทดสอบการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น


ชิ้นงาน
- สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวัน
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ความรู้
เกิดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยทุนแรงในชีวิตประจำวันที่ใช้ได้จริง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ, น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเระหว่างการทำกิจกรรมระหว่างเพื่อนในกลุ่มได้อย่างเคารพซึ่งกันและกันได้
คุณลักษณะ
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงาน
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


9
สรุปความเข้าใจเพื่อถ่ายทอดนำเสนอหน่วย “ของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรง”
- การสรุปความเข้าเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- การตรวจสอบ การประเมินตนเองและผู้อื่น
Key Question:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนหน่วยของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรงและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
Brainstorms :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผย แพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ หน่วย ของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรง
Round Rubin  :  การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมา
Show and Share :  นำเสนอการประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนา
Mind Mapping :  หลังการเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4, A3
- กระดาษ A4, A3

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในหน่วย “ของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรง”
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนหน่วย “ล้อและเพลา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
จัดนิทรรศการ
และนำเสนอ
นิทรรศการ
แสดงละคร
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์
ความรู้
สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ หน่วย“ของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรง”
ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามารถจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เรื่อง“ของเล่น,ของใช่ ทุ่นแรง”ได้
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ ผ้า
-เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของการนำเสนองาน
ทักษะ ICT
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการให้น่าสนใจ
ทักษะการสื่อสาร
-  พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้
คุณลักษณะ
เคารพและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการนำเสนอความรู้
คิดสร้างสรรค์ผลงานในการแสดงละคร
 
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “Science Land สร้างแรงบันดาลใจ”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1/2557 (Quarter 3)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
- สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อโครงงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว   สิ่งที่-อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน

มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องหรือสถานการณ์ที่จะศึกษารวมทั้งปัญหาที่อยากแก้ไขตามความสนใจ
(ว 8.1  5/1)
- วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการศึกษาค้นคว้า
(ว 8.1 ป5/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข
 (ว 8.1ป5/5)
- เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้
 (ว 8.15/6)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา สิ่งที่อยากเรียนรู้ปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ว 8.1 5/8)

มาตรฐาน ส 2.1
- เข้าใจและเห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย(2.15/3)
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศ
(ส 2.16/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม
 (ส 2.1 6/5)


มาตรฐาน ง1.1
- มีทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(ง 1.1 ป5/1-2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(ง 1.1 ป5/3)
มาตรฐาน ง 2.1
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสรรค์และไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
 (2.12/4)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป6/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน
 ( พ 3.1 ม4/2 )
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี(ศ 1.1 ป5/3)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(ศ 1.1 ป6/7)

มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายอิทธิพลของต่างชาติที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน
(ส4.25/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องเครื่องทุ่นแรงที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
(ส 4.35/5)
มาตรฐาน ส 2.2
-  แสดงถึงมารยาทได้เหมาะสมตามกาลเทศะ(ส 2.26/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆเลือกใช้ข่าวสารต่างๆในการเรียนรู้
(ส 2.26/5)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ในแนวราบ(การที่เคลื่อนของกระสอบทราย,รถของเล่น,เรือของเล่น)
-  การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง(การเคลื่อนที่ของกระสอบทรายขึ้นที่สูง)

มาตรฐาน ว 3.1
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายการนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน
(ว 3.1 5/2)
มาตรฐาน ว 4.1
- ทดลองการหาแรงที่กระทำต่อวัตถุซึ่งอยู่ในแนวเดียวกัน
( ว 4.1 5/1)
มาตรฐาน ว 4.2
ทดลองและอธิบายแรงเสียดทานและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์( ว4.25/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- บันทึกข้อมูลในเชิงคุณภาพและตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้นำเสนอข้อสรุป
( ว 8.15/4)
มาตรฐาน ส 1.1
- ปฏิบัติตนตามศาสนาที่นับถือเพื่อพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม
( ส1.15/7)
- วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างและนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง( ส1.11/11)

มาตรฐาน ง 1.1
- อธิบายการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการ
( ง1.15/1)
- ใช้ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
( ง1.15/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงาน( ง1.15/3)
- มีจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า( ง1.15/4)



มาตรฐาน พ 2.1
- อธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพร่วมกับผู้อื่น(2.16/1 )
มาตรฐาน พ 4.1
- ทดสอบและปรับปรุงร่างกายตามสมรรถภาพการทดสอบ( พ 4.1 5/5)

มาตรฐาน ศ 1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิค แสงเงาและวรรณะสี
( ศ 1.15/3)
-สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์โดยใช้หลักงานของรูปและพื้นที่ว่าง
( ศ 1.16/5)
- ออกแบบสัญลักษณ์หรือกราฟฟิกส์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูล( ศ 1.11/5)


มาตรฐาน ส 4.1
- อธิบายเกี่ยวกับความจริงและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น( ส4.15/3)
- นำเสนอหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องราว( ส4.16/2)

มาตรฐาน ส 2.1
- เสนอวิธีการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง( ส2.15/2)
- แสดงอออกถึงมารยาทตามกาลเทศะ(ส2.15/2)
- แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(ส2.11/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
แรงโน้มถ่วง,แรงเสียดทาน,แรงพยุง
- หนีแรงโน้มถ่วง (พับจรวจ,ทำว่าว)
- หนีแรงเสียดทาน
- ปั้นดินน้ำมันให้ลอยตัวในน้ำ,ทำเรือของเล่นให้ลอยน้ำและเคลื่อนที่ได้
มาตรฐาน ว 2.1
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
(ว 2.16/3)
มาตรฐาน ว 4.1
- ทดลองและอธิบายความดันของของเหลว
( ว 4.15/3)
- ทดลองและอธิบายระยะทาง และความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ( ว4.1 1/2)


มาตรฐาน ว 4.1
ทดลองและอธิบายแรงเสียดทานและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
( ว4.25/1)
มาตรฐาน ว 6.1
ทดลองและอธิบายการเกิดลมและนำความรู้ไปปรับใช้
( ว6.15/4)


มาตรฐาน ส 2.1
- มีมารยาทและยอมรับในความคิด และความเชื่อของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการ (2.1 6/ 3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ
(2.1 1/4)
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับแรงแต่ละชนิดได้(1.1 6/1)
- ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ (1.1 1/3)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (1.1 6/3)
มาตรฐาน ง2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายการประดิษฐ์รถ,เรือของเล่นได้
(2.1 6/1)
- เข้าใจและสามารถนำความรู้และทักษะการประดิษฐ์ของเล่นประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์(2.1 6/3)
- มีความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ขอเล่น
(2.1 2/3)

มาตรฐาน พ 2.1
สร้างสัมพันธภาพต่อตนเองและต่อสมาชิกในกลุ่มเพื่อนร่วมชั้นในการเลือกหัวข้อและวางแผนการเรียนรู้ได้  
(2.1 6/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
- เข้าใจและสามารถสร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบสองมิติเป็นสามมิติได้โดยใช้หลักแสงเงาผ่านงานได้
(ศ 1.1 ป6/3)
- เข้าใจและสามารถสร้างงานปั้นโดยใช้หลักการเพิ่มและลดเพื่อสร้างผลงาน
 (ศ 1.1 ป6/4)
- เข้าใจและสามารถสร้างชิ้นงานผ่านการวาดภาพตกแต่งผลงานเพื่อสร้างผลงานแบบต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจได้(ศ 1.1 ป6/7)
มาตรฐาน ส 4.1
- เข้าใจและสามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
 (ส 4.1 ป5/1)
- เข้าใจเรื่องราวความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีผลจากอดีตถึงปัจจุบัน
(ส 4.1 6/1)

มาตรฐาน ส 2.2
-  แสดงถึงมารยาทได้เหมาะสมตามกาลเทศะ(ส 2.26/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆเลือกใช้ข่าวสารต่างๆในการเรียนรู้
(ส 2.26/5)




สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
เครื่องทุ่นแรง
- จำแนกเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ
-รู้จักการใช้เครื่องทุ่นแรงแต่ละประเภท
มาตรฐาน ว 2.2
อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
(ว 2.2 6/3)
มาตรฐาน ว 3.1
สืบค้นข้อมูลและการนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน
(ว 3.1 5/2)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามถามเกี่ยวกับประเด็นที่จะศึกษาและวางแผนสังเกต เสนอการสำรวจหรือคาดการจากสิ่งที่พบจากการสำรวจ
( ว 8.15/1/2)

มาตรฐาน ส 2.1
- แสดงออถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
 (2.1 6/3 )
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้เหมาะสม      (2.1 6/5 )
มาตรฐาน ส 3.1
- ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
 (3.1 5/2 )

มาตรฐาน ง 1.1
- อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอน (1.1  6 /1 )
- ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  (1.1  1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล 
(1.1  ม1 /3 )
- มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน  (1.1 4 /4 )
- มีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ (1.1 4 /5 )
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจและเป็นประโยชน์จากแหล่งต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์
(3.1 5 /1 )

มาตรฐาน พ 1.1
- วางแผนและดูแลสุขภาพตามภาวะ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเอง
(พ 1.1 1/3)
- แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย  
(พ 1.1 1 /4)
มาตรฐาน พ 2.1
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นได้  (2.1 6 /1)

มาตรฐาน ศ1.1
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่แตกต่างกัน
(1.1 .5/2)
- วาดภาพสิ่งที่เห็น และการตกแต่งผลงานโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี
(1.1 .5/3)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนผัง และภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราวต่างเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรง                  (1.1 .6/7
มาตรฐาน ส 4.1
- สืบค้นความเป็นมาของพลังงาน ประเภทของเครื่องทุ่นแรงในท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย     
(4.1 .5/1)
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงอย่างมีเหตุผล                (4.1 .5/2)


มาตรฐาน ส 2.1
- เสนอวิธีการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง( ส2.15/2)
- แสดงอออกถึงมารยาทตามกาลเทศะ(ส2.15/2)
- แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(ส2.11/4)




สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
การออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
-วางแผนลำดับขั้นตอนการทำงาน
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นที่จะเรียนหรือสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามความสนใจ(ว 8.15/1)
- วางแผนสำรวจตรวจสอบสิ่งที่จะศึกษาค้นคว้าและคาดการสิ่งที่จะพบ
(ว 8.15/2)
- สร้างสมมุติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบได้หลายวิธี(ว 8.11/1)
- วิเคราะห์และประเมินสอดคล้องข้อสนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมุติฐาน
(ว 8.11/5)

มาตรฐาน ส 2.1
- แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ (2.1 .6/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต ประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสาร
(2.1 .6/5 )
มาตรฐาน ส 3.1
- บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (3.1 .6/3)


มาตรฐาน ง 1.1
- มีจิตสำนึกในการใช้อุปกรณ์อย่างประหยัดและคุ้มค่า (1.1 .5 /4 )
- อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอน
(1.1 .6 /1 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น(1.1 6 /3 )
- ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล
(1.1 .1 /3 )
- มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน  (1.1 .4 /4 )
มาตรฐาน ง 2.1
- สามารถสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามความสนใจได้อย่างปลอดภัย และสามารถสรุปเป็นแผนภาพความคิดได้
(2.1 .5 /2)
- นำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงาน และถ่ายทอดความคิด  รายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ (2.1 .5 /3)
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของตนเอง
(2.1 .5 /4)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจและเป็นประโยชน์จากแหล่งต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์
(3.1 .5 /1 )
มาตรฐาน พ 1.1
- วางแผนและดูแลสุขภาพตามภาวะ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเอง
(พ 1.1 .1/3)
- แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย
(พ 1.1 .1 /4)
มาตรฐาน พ 2.1
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นได้ (2.1 .6 /1)
มาตรฐาน พ 3.1
ควบคุมการเคลื่อนไหวในเรื่องการับแรง  การใช้แรงและความสมดุลในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการเล่นกีฬา
(3.1 .5/1,3,5)
มาตรฐาน พ 4.1
- แสดงพฤติกรรมที่เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ \
(4.1 .5/1)
- ค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
(4.1 .5/2)

มาตรฐาน ศ1.1
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่แตกต่างกัน
 (1.1 .5/2)
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี (1.1 .5/3)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนผัง และภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราวต่างเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงได้  (1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส 4.1
- สืบค้นความเป็นมาของการใช้เครื่องทุ่นแรงในท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย     
(4.1 .5/1)
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างมีเหตุผล(4.1 .5/2)
- นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เครื่องทุ่นแรงที่ออกแบบจากหลักหลักฐานที่หลากหลาย
(4.1 .6/2)

มาตรฐาน ส 2.2
-  แสดงถึงมารยาทได้เหมาะสมตามกาลเทศะ
(ส 2.26/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆเลือกใช้ข่าวสารต่างๆในการเรียนรู้(ส 2.26/5)





สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยทุ่นแรงในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ว 8.1
- สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป(ว 8.15 /5 )
- นำเสนอผลงานโดยอธิบายวาจาหรือเขียนอธิบายแสดงการบวนการและเสนอผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว 8.15 /8 )
- แสดงความคิดเห็นอิสระอธิบายแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้(ว 8.16/6)

มาตรฐาน ส 1.1
- เข้าใจเห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากศาสนิกชนที่ดีระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรมและอยู่ร่วมกัน
 (ส 1.1 5/3)

มาตรฐาน ง1.1
- ใช้ทักษะการจัดการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ (ง 1.15 /2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงาน
 (ง 1.15/3)
- อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอน
(ง 1.1  ป6 /1 )
- ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  (ง 1.1  ม1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล 
(ง 1.1  ม1 /3 )

- มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
 (ง 1.1 4 /4 )
- สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
 (1.1 1/3)
มาตรฐาน ง 2.1
เข้าใจและสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสรรค์และไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม (2.12/4)

มาตรฐาน พ 2.1
อธิบายความสำคัญของการสร้างงานและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(พ2.1 ป6/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อสื่อความหมายความเป็นมาและความสำคัญของอาเซียนได้
 (ศ 1.1 ป6/1/2/3/5)
- เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เป็นภาพวาดได้อย่างสร้างสรรค์
(ศ 1.1 ป6/7
- เข้าใจและสามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาของเครื่องทุ่นแรงโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย(ส 4.1 ป5/1)
- เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงอย่างมีเหตุผล
(ส 4.1 ป5/2)


มาตรฐาน ส 2.1
- เสนอวิธีการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง( ส2.15/2)
- แสดงอออกถึงมารยาทตามกาลเทศะ(ส2.15/2)
- แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(ส2.11/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง

สรุปองค์ความรู้
- สิ่งที่ดีแล้ว
- สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind mapping
หลังเรียน
มาตรฐาน ว 2.2
- วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งต่อโลก สังคม ชุมชนและตัวเราเอง (ว 2.2 ป6/2 )
- วิเคราะห์สภาพปัญหา  สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและระดับโลก
(ว 2.2 ม4/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ                 (ว 8.1 ป6/1 )
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนได้ (ว 8.1 ป6/6 )
- นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว 8.1 ป6/8)

มาตรฐาน ส2.1
- เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย(ส2.15/3)
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ(ส2.16/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม(ส2.1 6/5)
มาตรฐาน ส 3.1
- ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (ส 3.1 ป5/2)
- บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (ส 3.1 ป6/3)
มาตรฐาน ส 5.2
- วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาค(ส 5.2 ป5/1)
- นำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำลายสภาพแวดล้อมเพื่อใช้ในการเกษตรและเสนอแนวคิดในการรักษาสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ ( 5.2 ป5/3)

มาตรฐาน ง 1.1
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
(ง 1.1 ป5/2)
- มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
(ง 1.1 ป5/4)
มาตรฐาน ง 2.1
- สามารถอธิบายความหมายและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (ง 2.1 ป5/1)
- นำความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปใช้ประยุกต์สร้างสิ่งของเครื่องใช้ทางการเกษตร
(ง 2.1 ป5/3)
- เลือกใช้เทคโนโลยี
ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม และมีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (ง 2.1 ป5/5)
มาตรฐาน ง 3.1
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน(ง 3.1 ม3 /3)
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากความเข้าใจตามจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึก และความรับผิดชอบได้(ง 3.1 ป6 /5 )
มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างการทำงานร่วมกันได้อย่างมีเหตุมีผล
 (พ 2.15/3)
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น (2.16/1)
มาตรฐาน พ 3.1
- สามารถใช้ทักษะการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางบทบาทสมมุติเพื่อสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 (พ3.15/1)

มาตรฐาน ศ 1.1
- เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่แตกต่างกัน
(ศ1.15/2)
สร้างงานทัศนศิลป์เป็นภาพประกอบเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางกายภาพของทวีปต่างๆ ของโลกหรือสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต
(1.1  6/7)
- เข้าใจและสามารถออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกในการนำเสนอความคิดและข้อมูลเกี่ยวชิ้นงานที่หลากหลายได้
(1.11/5)
มาตรฐาน ส 4.1
- เข้าใจและสามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
(ส 4.1 ป5/1)
- เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามอย่างมีเหตุผล(ส 4.1 ป5/2)
- เข้าใจและสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น
(ส 4.1 ป5/3)
มาตรฐาน ส 2.2
-  แสดงถึงมารยาทได้เหมาะสมตามกาลเทศะ
(ส 2.26/3)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆเลือกใช้ข่าวสารต่างๆในการเรียนรู้(ส 2.26/5)






สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
หน่วย : Science Land สร้างแรงบันดาลใจ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2557

สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- จรวดบินได้เพราะแรงดึงดูดโลก
- รถชนิดต่างๆเป็นเครื่องทุ่นแรง
- คาร์ล เบนซ์ เป็นวิศวกรชาวเยอรมันที่คิดค้นรถคนแรก
- เซอร์ไอแซกนิวตันค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก
- จากการหล่นของแอปเปิลทำให้เซอร์ไอแซกนิวตันค้นพบแรงโมน้มถ่วง
- แรงนิวเคลียเกิดจากการสะลายตัวของกัมมันตภาพรังสี
- แรงหมายถึงการทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หยุดนิ่งหรือเปลี่ยนแปลง
- แรงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือแรงที่มาจากธรรมชาติและแรงที่มาจากมนุษย์
- เครื่องทุ่นแรง มีหลายชนิด/ประเภท
- ทุกสิ่งที่อยู่บนโลกได้โดยไม่ลอยขึ้นบนฟ้าเพราะมีแรงดึงดูดของโลก
- การเคลื่อนที่คือการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ
- แรงเสียดทานคือการเสียดสีกันของวัตถุ
- โลกเป็นสนามแม่เหล็ก
- การเคลื่อนที่มีหลายประเภท
- เครื่องทุ่นแรงมีมาตั้งแต่สมัยอดีต
- เครื่องทุ่นแรงมีกี่ประเภท
- ใครเป็นคนค้นพบแรงรูปแบบต่างๆ
- ทำไมจึงต้องมีการต้านทานรงดึงดูด
- เครื่องยนต์สี่จังหวะคืออะไร
- สนามแม่เหล็กโลกพังจะเกิดอะไรขึ้น
- ทำไมรถจึงวิ่งได้
- การเคลื่อนที่แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
- ว่าวลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร
- ทำไมรถยนต์ถึงใช้น้ำมัน
- เครื่องบินหนีแรงดึงดูดได้อย่างไร