ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

week5



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายเรื่องแรงโน้มถ้วงและแรงกระแทกได้
week
input
process
Output
Outcome
5
24 – 28 พ.ย.
2557
โจทย์ : การร่วงการหล่นและการลอย
Key Questions :
- ทำไมใบไม้/ผลไม้จึงร่วงลงจากต้น
- ทำไมลูกโป่งสวรรค์จึงลอยขึ้นบนท้องฟ้า
-ทำไมเมื่อไข่ดิบร่วงลงพื้นแล้วจึงแตก
- ลูกบาสเก็ตบอลกับลูกโปงเมื่อตกลงจากความสูงที่เท่ากันสิ่งใดจะตกถึงพื้นก่อน
เครื่องมือคิด :
Round Rubin  : ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ร่วงหล่นลงพื้นว่าเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด
Flow Chart : สรุปผลการทดลอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- ลูกโป่ง
-ลุกบาส
-ไข่
วันจันทร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนคิดว่าลูกบาสเก็ตบอลกับลูกโปงเมื่อตกลงจากความสูงที่เท่ากันสิ่งใดจะตกถึงพื้นก่อนเพราะเหตุใด
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนจากคำถามในขั้นชงจากนั้น
ครูเปิดคลิป VDO การปล่อยลูกโบว์ลิ่งและขนนกในห้องที่ไร้แรงดึงดูด
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
นักเรียนเห็นและเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับ VDO ที่ได้ดู
ใช้
- นักเรียนทำการทดลองปล่อยลูกบาสเก็ตบอลกับลูกโป่งจากที่ๆมีความสูงเท่ากัน
- นักเรียนสรุปผลการทดลองผ่านนิทาน
วันอังคาร
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนในกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- ทำไมลูกโป่งสวรรค์สามารถลอยอยู่บนท้องฟ้าได้ เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าทำไมเมื่อผลไม้สุกจึงร่วงหล่นสู่พื้น ทำไมไม่ลอยขึ้นบนท้องฟ้าเพราะเหตุใด
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนจากคำถามในขั้นชงเกี่ยวกับแรงดึงดูด
วันพุธ
ชง
ทำไมเมื่อไข่ดิบตกถึงพื้นจึงแตกเพราะเหตุใดแล้วนักเรียนจะทำอย่างไรไม่ให้ไข่แตกโดยใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโยนไข่
ใช้
นักเรียนออกแบบวางแผนการโยนไข่โดยไม่ให้แตกและใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด
วันศุกร์
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมในวันที่ผ่านมา
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอการออกแบบโยนไข่โดยไม่ให้แตกและใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด
ใช้
นักเรียนทดลองโยนไข่โดยใช่อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเอง
จากนั้นครูและนักเรียนสรุปผลการทดลองว่าเป็นอย่างไร เพราะสาเหตุใด
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.               นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
2.               ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
3.               นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.               นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.               นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.               นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (เขียนบรรยาย )
ชิ้นงาน
- สิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
- Flow Chart สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
ภาระงาน
- ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
- ทดลองโยนไข่
- สรุปผลการทดลอง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์












ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายแรงดึงดูดของโลกที่กระทำกับสิ่งต่างได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ไข่ตกลงพื้นแล้วไม่แตก
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่นสี, กระดาษ,กาว TOA
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของแรงดึงดูดที่ทำกับวัสดุต่างๆ
 ทักษะการสื่อสาร
- สามารถสื่อสารกับเพื่อนในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีเหตุมีผล
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปที่ได้ดู
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง
คิดสร้างสรรค์ ออกแบบอุปกรณ์ในการทดลอง
คุณลักษณะ
- มีความสนใจกระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น




 
















































1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    วันจันทร์ ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 เรียนรู้เรื่องของแรงโน้มถ่วงโดนครูและพี่สนทนากันว่าพูดถึงแรงโน้มถ่วงนึกถึงอะไรหลานคนบอกคิดถึงแอปเปิ้ลที่หล่นลงพื้น ครูจึงถามพี่ๆว่าถ้าปล่อยลูกโป่งกับลูกบาสพร้อมกันอันไหนจะตกถึงพื้นก่อนบางคนก็บอกว่าลูกบาสบางคนก็บอกลูกโป่ง พี่แฟ้ม”ถ้าเป่าลูกโป่งใหญ่ๆลูกโป่งจะตกก่อนค่ะเพราะมีขนาดใหญ่กว่า” ครูไม่ได้เฉลยว่าอันไหนจะตกก่อนที่ครูได้เปิดคลิป VDO การปล่อยลูกโบว์ลิ่งและขนนกในสภาวะไร้อากาศให้พี่ๆได้ดู สร้างความสงสัยให้เพิ่มขึ้นไปอีกว่าทำไมของสองสิ่งจึงตกพร้อมกัน จากนั้นคุณครูจึงให้พี่ออกแบบการทดลองว่าปล่อยลูกบาสและลูกโป่งอย่างไรให้ตกถึงพื้นพร้อมกัน(ครูยังไม่ได้เฉลย)
    วันอังคาร แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการทดลองของตนเองแต่ละคนมีวิธการที่ต่างใส่น้ำบ้างใส่ก้อนหินบ้างเพื่อให้ลูกโปงกับลูกบาสหนักเท่ากันและทุกกลุ่มได้ทำการทดลอง และสุปผลการทดลองด้วยตัวเองบางกลุ่มตกถึงพื้อนพร้อมกันบางกลุ่มตกคนละครั้งอย่างเห็นได้ชัด
    วันพุธ ครูได้ให้โจทย์ใหม่แก่พี่ว่า ไข่มีแตกโดยจะโยขไข่อย่างไรให้ได้ระยะสามเมตรโดยใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด ทุกคนต่างออกแบบด้วยตัวเอง มีทั้งเอาผ้าห่อเอาฟางรอง หรือโยนใส่น้ำฯลฯ
    ในวันศุกร์ ทุกคนทำการทดลองที่สนามบาสปรากฏว่าเกือบ90% ไข่แตกโดยที่โยนไม่สูงถึงสามเมตรด้วยซ้ำ มีอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถโยนไข่โดยไม่แตกได้ และทุกคนทำการสรุปผลการทดลองของตนเองและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ห้าตามเทคนิคที่ตนเองถนัด

    ตอบลบ