ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับแรงในแนวดิ่ง นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
10 – 14 พ.ย.
2557
โจทย์ : การออกแรงน้อยแต่ได้งานมาก
Key Question :
 นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อต้องเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
เครื่องมือคิด :
Round Robin  : สนทนาเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
Brain Strom : ระดมความคิดวางแผนการเคลื่อนย้ายทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรในแนวดิ่งโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
Show and Share : นำเสนอแผนการออกแบบการเคลื่อนย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาไว้หน้าเสาธง
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-  ห้องสมุด
-  อินเทอร์เน็ต
-  บรรยากาศในห้องเรียน
-  กระดาษ บรู๊ฟ
กระดาษ A4
-ถุงบรรจุทรายหนัก 50 กิโลกรัม
- รถเข็ญ
- เชือก
- บริเวณสนามฟุตบอล
วันจันทร์
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
เชื่อม
-ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรเมื่อต้องยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเราผ่านเครื่องมือคิด
 (Round Robin)
ใช้
 - นักเรียนวางแผนการเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรในแนวดิ่งโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุดเป็นชาร์ตความรู้
วันอังคาร
ใช้
นักเรียนทดลองเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรในแนวดิ่งโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุดตามแบบที่วางไว้
วันพุธ
ชง
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
-นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรม ความรู้ใหม่ทีเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และนักเรียนรู้สึกอย่างไร


 เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านคำถามในขั้น
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถามถ้าต้องเคลื่อนย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้ที่หน้าเสาธง นักเรียนจะทำอย่างไรให้ใช้แรงงานคนน้อยที่สุด เพราะเหตุใด ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
นักเรียนทำชาร์ตความรู้การเคลื่อนย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้ที่หน้าเสาธง
วันศุกร์
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอชาร์ตความรู้ ครูและเพื่อนๆเพิ่มเติมในส่วนที่คิดแตกต่าง
ใช้
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
  1. 1.               นักเรียนได้เรียนรู้อะไรอะไรในสัปดาห์นี้และอย่างไร
  2. 2.               ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้ มีอะไรบ้าง
  3. 3.               นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
  4. 4.               นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
  5. 5.               นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
  6. 6.               นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
  7. -  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (Mind mapping)

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้ออกแบบเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด(ในแนวดิ่ง)
- ชาร์ตความรู้การเคลื่อนย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้ที่หน้าเสาธง
ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
-วางแผนเคลื่อนย้ายถุงทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุด
- การเคลื่อนย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาไว้หน้าเสาธง
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ตลอดสัปดาห์


ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับแรงในแนวดิ่ง นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้กำลังกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์อภิปรายว่าจะทำอย่างไรให้ออกแรงน้อยที่สุดในการเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ
ทักษะการสื่อสาร
- สนทนากับครูและเพื่อนด้วยวาจาที่สุภาพถูกกาละเทสะ
-พูดนำเสนอแผนการแผนการยกถุงทรายขึ้นอาคารและการย้ายก้อนหินจากหน้าโรงเรียนมาหน้าเสาธงได้

คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น









































1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 เรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง โดยเริ่มจากในวันจันทร์ ครูและพี่ๆทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายคนตอบว่าเป็นการลากกระสอบทรายในแนวราบ คุณครูจึงให้โจทย์พี่ๆว่าจะทำอย่างไรให้กระสอบทรายถุงเดิมเคลื่อนที่ขึ้นไปในแนวดิ่งในได้ระยะทางเท่าเดิมคือ 5 เมตร หลายคนสงสัยว่าจะทำได้ยังไงครับ/ค่ะ ครูแค่รากไปกับพื้นก็หนักแล้ว คุณครูจึงให้พี่ๆออกแบบวางแผนการทดลองขึ้นมา

    วันอังคารหลังจากที่ทุกคนวางแผนการทดลองเรียบร้อยแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติจริง (ส่วนใหญ่ออกแบบโดยการใช้เชือกพาดกับคานแล้วดึงเชือก
    พี่ตะวัน “ครูครับแล้วเราจะเอาเชือกพาดกับอะไรครับ”
    พี่ภูมิ “ประตูฟุตบอลไง”
    เพื่อนส่วนใหญ่”มันไม่ถึง5เมตรนะ”
    จากนั้นทุกคนก็ช่วยกันคิดว่าจะเอาเชือกไปแขวนตรงไหน พี่เพลง “ต้นสะเดาข้างสนามบอลไงไม่ถึงก็ใกล้เคียง”
    พี่ผู้ชาย”ได้ไหมครับครู”
    ครูดอกไม้”ลองดูสิครับ”
    จากนั้นก็ลองโยนเชือกขึ้นไปบนกิ่งสะเดาจนพี่ผู้ชายหลายคนออกตัวว่าเหนื่อยแล้ว พอโยนเชือกขึ้นบนต้นสะเดาเสร็จก็ใช้เชือกมัดเพื่อที่จะดึงกระสอบทรายขึ้น พี่แบงค์ขอโชว์พลังคนเดียวแต่ทำยังไงก็ไม่ขึ้นพี่ผู้ชายสามสี่คนช่วยกันก็ยังไม่ขึ้น และพี่ตะวันจึงคิดวิธีโดยการยกกระสอบทรายขึ้นมาเหนือพื้นนิดหน่อยจากนั้นก็สามารถดึงเชือกทำให้กระสอบทรายลอยขึ้นด้านบนอย่างรวดเร็ว พี่ผู้หญิงก็สามรถดึงขึ้นได้โดยมีพี่ผู้ชายช่วยพยุงกระสอบให้เหนือพื้นตอนแรก จากนั้นครูดอกไม้จึงเพิ่มโจทย์ว่าถ้าเป็น100 กิโลกรัมหละจะขึ้นไหม พี่ผู้ชายมั่นใจเต็มที่สบายมากครับ ครูดอกไม้จึงได้ขึ้นไปเยียบบนกระสอบทราย(มั่นใจว่าไม่ขึ้น) ปรากฏว่ายังไม่ทันตั้งตัวพี่ผู้ชายก็สามารถดึงขึ้นไปถึงกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว และพี่ๆได้สรุปผลการทดลองในครั้งนี้ด้วยตัวเอง

    ในวันพุธ คุณครูและพี่ๆทบทวนกิจกรรมในวันที่ผ่านมาและครูได้ให้โจทย์ใหม่ไปว่าถ้าโรงเรียนจะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยต้องการย้ายก้อนหินที่อยู่หน้าโรงเรียนมาไว้หน้าเสาธงพี่ๆจะออกแบบวางแผนอย่างไรโดยใช้แรงและเวลาน้อยที่สุด พี่ได้ออกแบบวางแผนหลายรูปแบบมีทั้งใช้รถเครนใช้รถไถลาก ใช้เครื่องบินฯลฯ
    ในวันศุกร์ ทุกคนได้นำสิ่งที่ตนเองออกแบบไว้มานำเสนอให้คุณครูและเพื่อนๆฟังจากนั้นพี่ทำสรุปสัปดาห์ที่สามตามเทคนิคที่ตัวเองถนัด

    ตอบลบ