ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวราบได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
2
3 – 7 พ.ย.
2557
โจทย์ : ออกแบบ/วางแผนการเรียนรู้
Key Question :
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
เครื่องมือคิด :
Round Robin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมใน Quarter 3
Blackboard Share สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้(รายบุคคล)
Wall Thinking : สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี/ปากกา




วันจันทร์
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาภาระหน้าที่นักเรียนต้องทำในวันหยุดที่ผ่านมามีอะไรบ้างผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนอย่างเรียนรู้เรื่องใดบ้างในหน่วยนี้เพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- ครูและนักเรียนสนทนาถึงชาร์ตความรู้สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้รายบุคคลว่าของแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้างผ่านเครื่องมือคิด
 (Round Robin)
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนอภิปรายร่วนกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้และจากคำถามในขั้นชง
ใช้
- นักเรียนทำชาร์ตความรู้สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้รายบุคคล
- นักเรียนสรุปองค์รู้ก่อนเรียนผ่านเครื่องมือคิด  (Mind Mapping)
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)


เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับลำดับปฏิทินและการออกแบบวางแผนการเรียนรู้
- นักเรียนจะจัดเรียงเนื้อหาที่จะเรียนใน Quarter นี้อย่างไรเพราะเหตุใด
- นักเรียนเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมของแต่ละสัปดาห์ว่าจะเรียนเรื่องใดบ้างและจะเรียนเรื่องใดก่อน/หลังผ่านเครื่องมือคิด (Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์(รายบุคล)
- นักเรียนแบ่งเป็น 10  กลุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามตามความเหมาะสม
วันพุธ
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทนทวนเกี่ยวกับกิจกรรมในวันจันทร์และวันอังคารทีผ่านมาว่านักเรียนได้ทำอะไรและได้เรียนรู้อะไรบ้างปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอครูและเพื่อนๆในสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ของตนเอง ผ่านเครื่องมือคิด (Show and Share)
- นักเรียนจับกลุ่ม 3 คน เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ A3โดยสิ่งที่เหมือนกันนำมาเพียงข้อเดียวส่วนสิ่งที่แตกต่างนำมาเขียนทั้งหมด ผ่านเครื่องมือคิด( Think Pair Share)
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มตามสี ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (A3) กลุ่มละ 2 แผ่น จากนั้นให้นักเรียนส่งตัวแทนของกลุ่มไปเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ บนกระดานโดยไม่ซ้ำกับเพื่อนกลุ่มอื่น ผ่านเครื่องมือคิด( Blackboard Share )
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อต้องเคลื่อนย้ายทรายหนัก 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรเพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
- นักเรียนเพื่อเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษบรู๊ฟแผ่นใหญ่
- นักเรียนออกแบบวางแผนการเคลื่อนย้ายทราย 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตร
วันศุกร์
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลงานที่นักเรียนออกแบบไว้พร้อมทั้งชื่นชมคนที่ตั้งใจทำงาน
ใช้
นักเรียน ลงมือทำการทดลองเคลื่อนย้ายถุงทราย 50 กิโลกรัมให้ได้ระยะทาง 5 เมตรโดยใช้เวลาและแรงน้อยที่สุดตามที่วางแผนไว้
- นักเรียนสรุปผลการทดลองเป็นความเรียง
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.               ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
2.               นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
3.               นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
4.               นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
5.               นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
ชิ้นงาน
-  สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
-  สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-วาดภาพตกแต่งชั้นเรียน
-  ออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวราบได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม เช่น สี กระดาษ กรรไกร
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
- ออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Quarter 3ได้
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทินได้
ทักษะการคิด
 - คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- มีความสนใจกระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น



 







































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ได้ทำสิงที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้โดยเริ่มจากคิดคนเดียวแล้วมาคิดรวมกันเป็นกลุ่ม พี่ๆใช้วิธีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของใครของเราเช่น พี่ผู้ชายเขียน พี่ผู้หญิงระบายสี วันอังคารได้ทำปฎิทินการเรียนรู้ร่วมกันโดยเริ่มจากที่พี่ๆคิดมาเองคนเดียวและได้ใช้เครื่องมือคิด Block Board Share เพื่อให้ทั้งห้องได้เข้าใจร่วมกัน จากนั้นพี่สรุปความเข้าใจก่อนเรียนเป็น Mind Mapping และในวันพุธครูได้ให้โจทย์พี่ๆว่าจะทำอย่างไรให้ทราย 50 กิโลกรัมเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 5 เมตร แล้วให้พี่ๆลองวางแผนออกแบบว่าจะทำอย่างไร พี่ครัช ใช้วิธีลากกระสอบโดยที่ไม่ใช้อะไรช่วยพี่ออมใช้รถเข็น คอร์ดบอกว่าครูครับใช้รถมอเตอร์ไซครับ พี่แพรวใช้เชือกลาก และในวันศุกร์ครูได้เพิ่มโจทย์ให้พี่ๆว่าถ้าต้องใช้เวลาและแรงน้อยที่สุดจะทำอย่างไร พี่หลายคนบอกว่าทำไมยากจัง จำทำได้ไหมค่ะ/ครับ จากนั้นครูดอกไม้ พี่แบงค์ พี่ทัช พี่โจ พี่น็อต ช่วยกันตักทรายใส่กระสอบ พี่ๆถามว่าครูครับไม่มีตาชั่งจะรู้ได้อย่างรครับว่า 50 กิโลจริงๆ ครูดอกไม้เลยให้พี่ๆหาวิธีว่าจะทำอย่างไร พี่แจ๊บบอกว่าตะวันครับตะวันหนัก 50 กิโลกรับครับ ลองยกตะวันแล้วยกกระสอบดูครับว่าหนักเท่ากันหรือเปล่า พี่แจ็บพี่โอ๊คจึงลองยกพี่ตะวันแล้วยกกระสอบพี่ๆบอกว่าใกล้เคียงครับ พี่ผู้หญิงบอกว่าแล้วระยะทางละค่ะไม่มีตลับเมตรจะทำยังไง ครูฟ้าเลยให้พี่ๆลองหาสิ่งที่คิดว่าน่าจะยาวหนึ่งเมตรมาวัด พี่ๆได้ไม้ที่ยาวประมาน 1 เมตรมาจากนั้นวัดแล้วเอารองเท้าวางเป็นจุดบอกระยะทาง พี่น็อตบอกว่าขอลองคนแรกครับ พี่น็อตใช้วิธีการลากใช้เวลาไปประมานสี่วินาที พี่แจ็บลากใช้เวลาประมานสามวินาที พี่เพลงใช้เวลาประมานหกวินาที จากนั้นใช้เสื่อลองแล้วลากปรากฏว่าพี่ใช้เวลาใกล้เคียงกับเวลาเดิมแล้วใช้รถเข็นพี่ใช้เวลาอยู่ที่ประมานสามถึงสี่วินาที จากนั้นพี่ได้สรุปการทดลองเป็นชาร์ตความรู้ พี่ออมสรปมาว่าทั้งสามวิทีใช้เวลาใกล้เคียงกันแต่ใช้รถเข็นออกแรงน้อยที่สุด พี่โจสรุปมาว่าการลากทำให้เจ็บมือแต่ใช้เสื่อกับรถเข็นไม่เจ็บมือและเหนื่อยน้อยกว่า และพี่ก็ได้ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์สัปดาห์ที่ 2

    ตอบลบ