ของเล่น,ของใช้ทุ่นแรง

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "Science Land สร้างแรงบันดาลใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.เข้าใจหลักการของแรงและการเคลื่อนที่ รวมทั้งสามารถออกแบบประดิษฐ์ สร้างนวัตกรรมในการทุ่นแรงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

week1




แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL  (Problem Based Learning )
หน่วย : Science Land สร้างแรงบันดาลใจ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2557

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1

(27-31 ต.ค.
2557)
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
-  เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียน รู้จักเครื่องทุ่นแรงใดบ้างที่ใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ทุ่นแรงอย่างไร
- นักเรียนจะออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุดอย่างไรเพราะเหตุใด
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำและ บรรจุลูกแก้วได้เยอะ-ที่สุด เพราะเหตุใด
-  นักเรียนจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยนี้ว่าอะไรให้น่าสนใจ เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น


เครื่องมือคิด :
Round Robin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Walk and Talk : เครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
Blackboard Share:
- ประเภทของเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
- ตั้งชื่อหน่วย
Think Pair Share:  ตั้งชื่อหน่วย
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-  เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
-  บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
-  เชือก
- ดินน้ำมัน
- ลูกแก้ว
- กระดาษ
-  ถังน้ำ
- สถานที่ต่างๆในโรงเรียน เช่น โรงสีข้าว,ลานจอดรถ,ครัว เป็นต้น
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
 เหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์เกิดที่เกิดขึ้นผ่านเครื่อง-
มือคิด (Round Robin)
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนดีใจ/เสียใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและ นักเรียนเรียนได้เรียนรู้อะไรผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
- นักเรียนจะวางแผนเล่นชักเย่ออย่างไรให้ปลอดภัยและสามารถชนะทีมอื่นได้เครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนอย่างไรให้กระดาษลอยอยู่บนท้องฟ้าได้นานที่สุดเพราะเหตุใด เครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
นักเรียนจับฉลากแบ่งทีมเพื่อเล่นชักเย่อ
- นักเรียนออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุดพร้อมลงมือปฏิบัติจริง
วันอังคาร
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างและรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำเครื่องมือคิด (Round Robin)
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
-  นักเรียนจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำและ บรรจุลูกแก้วได้เยอะที่สุด เพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- ในชีวิตประจำวันนักเรียนรู้จักเครื่องทุ่นแรงอะไรบ้างและใช้ทุ่นแรงอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนเดินสำรวจรอบโรงเรียนว่ามีเครื่องทุ่นแรงอะไรบ้างผ่านเครื่องมือคิด  (Walk and Talk)
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันในการสำรวจโรงเรียนเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงที่พบโดยใช้เครื่องมือ Walk and Tale
ใช้
นักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองดินน้ำมันลอยน้ำ
- นักเรียนทำชาร์ตความรู้แบ่งแยกประเภทเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในบริเวณโรงเรียน
วันพุธ
ชง
ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนว่าเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในบริเวณโรงเรียนของเรามีกี่ประเภท เครื่องมือคิด (Round Robin)

เชื่อม
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
 นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยอย่างไรให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
 ผ่านเครื่องมือคิด (Think Pair Share)
ครูและนักเรียนนักเรียนตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share โดยเริ่มจากตั้งชื่อหน่วยด้วยตัวเอง จากนั้นแบ่งเป็น4กลุ่มเล็ก
(6-7คน) ช่วยกันตั้งชื่อหน่วยแล้วแบ่งเป็น2 กลุ่มใหญ่(13-14คน)นำชื่อหน่วยที่ได้มารวมกันหรือตั้งชื่อใหม่ตามที่สมาชิกในกลุ่มตกลงกันจากนั้นทั้งห้องช่วยกันนำชื่อหน่วยของทั้งสองกลุ่มมารวมกันผ่านเครื่องมือคิด( Blackboard Share )โดยชื่อหน่วยจะต้องมีความหมายและสอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
วันศุกร์
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาและพูดคุยเกี่ยวกับ
ชื่อหน่วย
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนจะวาดภาพตกแต่งชั้นเรียนอย่างไรให้สอดคล้องกับหน่วยที่เรียน
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศให้สอดคล้องกับหน่วยที่เรียน
ใช้
- นักเรียนวาดภาพตกแต่งชั้นเรียน
ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
  1.               นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
  2.                 ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้
  3.                 นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
  4.                 นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
  5.                 นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
  6.             นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป

- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเทคนิคที่ต้องการ
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้ ประเภทของเครื่องทุ่นแรงที่พบภายในโรงเรียน
-  สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วางแผนแบ่งทีมเพื่อเล่นชักเย่อ
- สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
- วางแผนให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
- ระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่และแรง ที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตผ่านกิจกรรมชักเย่อ ดินน้ำมันลอยน้ำการทดลองกระดาษลอยบนอากาศได้นานที่สุด
- สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้กำลังกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม เช่นกระดาษหน้าเดียว ดินน้ำมัน
- รู้จักรักษาและเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนรวม
ทักษะการสื่อสาร
-  พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
-  พูดนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนแบ่งทีมเล่นชักเย่อ
- นำเสนอได้ว่า พบเครื่องทุ่นแรงประเภทใดบ้างภายในโรงเรียน
-  เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
-  เสนอความคิดเห็นที่จะทำให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
ทักษะการคิด
- ความคิดวางแผนการเล่นชักเย่อได้
-  คิดสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษให้ลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด
- คิดวางแผนให้ดินน้ำมันลอยอยู่เหนือน้ำและบรรจุลูกแก้วลงไปให้ได้เยอะที่สุด
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น














































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิดภามเรียนQuarter 3 คุณครูและพี่ป.5 ได้สนทนาถึงช่วงปิดภาคเรียนว่าแต่ละคนไปทำอะไรมาบ้าง พี่สตางค์บอกว่าผมได้ไปเล่นน้ำที่นาครับ เพราะช่วงนี้น้ำเยอะครับ พี่แดงบอกว่าอยู่บ้านทำงานบ้านแล้วก็ไปนาค่ะ ส่วนพี่ๆอีกหลายๆคนก็บอกว่าอยู่บ้านบ้างไปเที่ยวบ้าง จากนั้นครูดอกไม้ได้ให้พี่จับฉลากแบ่งทีมเพื่อที่จะเล่นชักเย่อ ทีมพี่คอร์ดบอกว่าครูครับกลุ่มผมมีแต่คนตัวเล็กๆจะสู้ได้หรอครับ ส่วนกลุ่มที่มีพี่ผู้หญิงอยู่เยอะก็กลัวว่าจะสู้ทีมที่มีแต่ผู้ชายไม่ได้ ปรากฏว่าเมื่อลงเล่นจริงกลุ่มพี่คร์อดสามารถเอาชนะกลุ่มพี่ตะวันได้ จากนั้นครูดอกไม้ได้ให้โจทย์กับพี่ๆว่า จะทำอย่างไรให้กระดาษหนึ่งแผ่นลอยอยู่บนท้องฟ้าให้ได้นานที่สุด พี่แฟ้มบอกว่าขยำๆแล้วโยนได้ไหมค่ะ ส่วนพี่ผู้ชายก็พับเป็นจรวจตามที่ถนัด เมื่อถึงเวลาทดสอบ พี่แม็คขอทดสอบคนแรกปรากฏว่าลอยอยู่ได้แค่สามวินาที่ พี่แม็คบอกว่าขอแก้ตัวใหม่นะครับครู จากนั้นหลายคนก็ทยอยมาทดสอบเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาน สามถึงห้าวินาที่ แต่พี่แบงค์และพี่เพลงสามารถออกแบบจรวจให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าได้ถึงแปดวินาที เพื่อนหลายคนสนใจและก็ทดลองพับตามรูปแบบที่พี่แบงค์และพี่เพลงพับ จากนั้นครูและพี่ๆสนทนากันว่าได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้บ้าง พี่ฝ้ายบอกว่าชักเย่อต้องใช้แรงเยอะค่ะ พี่แป้งบอกว่าคนตัวเล็กก็สามารถชักเย่อชนะคนตัวใหญ่ได้ค่ะ พี่ออมบอว่าชักเย่อต้องใช้แรงดึง ครูจึงกระตุ้นคิดด้วยคำถามว่าเพราะเหตุใดจรวจของบางคนสามารถลอยได้นานบางคนตกเร็ว พี่แจ็บบอกว่าที่จรวจตกเพราะมีแรงดึงดูดจากสนามแม่เหล็กโลกครับ ในวันต่อมาพี่ๆป.5 ได้ทำการทดลองดินน้ำมันลอยน้ำโดยครูให้โจทย์ว่า จะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้และสามารถบรรจุลูกแก้วให้ได้เยอะที่สุด พี่ๆหลายคนบอกว่าจะทำยังไรครับครู พี่กล์อฟลองทิ้งดินน้ำมันทั้งก้อนลงในถังน้ำปรากฏว่าจมอย่างรวดเร็วพี่ๆกลุ่มอื่นๆจึงลองปั้นเป็นรูแบบต่างๆพี่แจ็บปั้นเป็นถ้วยเล็กๆแล้วใส่ลูกแก้วลงไปปรากกฏว่าได้แค่สามลูกก็จมลงทันที่ พี่แบงค์สามารถใส่ลูกแก้วได้ถึง33ลูก ทำให้เพื่อนคิดออกแบบการปั้นดินน้ำมันกันใหม่ แต่ปรากฏว่าก็ได้เพิ่มขึ้นแค่เล็กน้อยเท่านั้น จบการทดลองครูและพี่จึงสนทนาว่าได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ พี่ๆหลายคนบอกว่าดินน้ำมันที่เราปั้นถ้าทำให้คล้ายๆกับเรื่อก็จะลอยน้ำได้ จากนั้นครูจึงใช้คำถามกระตุ้นคิดว่าเครื่องทุ่นแรงในชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้างทุกคนตอบเกือบพร้อมกนว่ารถยนต์และส่วนใหญ่ก็ตอบในทำนองของรถยนต์ รถจักรยานยนต์และยานพาหะนะต่างๆ ครูจึงกระตุ้นคิดอีกว่าแล้วสิ่งใกล้ตัวเรากว่ารถมีอะไรบ้าง พี่ต่างคิดกันใหญ่แต่พอพี่โจตอบว่าเสียมครับหลายคนจึงได้คำตอบเพิ่มเติมเช่น ปากกา กรรไกร มีดฯลฯ จากนั้นคุณครูได้พาพี่ๆสำรวจรอบบริเวณโรงเรียนว่ามีเครื่องทุ่นแรงชนิดใดบ้าง พี่ได้แบ่งออดเป็น ทางด้านเกษตร,ยานพาหะนะ,เครื่องครัว,เครื่องมือช่าง,เครื่องใช้ทั่วไปและอุปกรณ์การเรียนจากนั้นนำเครื่องทุ่นแรงที่สำรวจมาจัดทำชาร์ตความรู้โดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามี่เพื่อนๆได้ช่วยกันจัดไว้ และวันต่อมาพี่ๆได้ ตั้งชื่อหน่วยร่วมกัน เริ่มจากการคิดคนเดียวแล้วค่อยมาคิดรวมกันเป็นกลุ่ม พี่ได้ชื่อโครงงานว่า Science Land สร้างแรงบันดาลใจ จากนั้นได้วาดภาพตกแต่งหน้าชันเรียนแล้วพี่ก็ทำสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ที่1

    ตอบลบ